พระราชบัญญัติสหกรณ์(ใหม่) - หมวด 9

สารบัญ

 
 
หมวด ๙
กลุ่มเกษตรกร
 
มาตรา ๑๑๙ ในกรณีที่คณะบุคคลผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ยังไม่อาจรวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ จะจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราช กฤษฎีกาก็ได้
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกร การกำกับกลุ่มเกษตรกร การเลิกกลุ่มเกษตรกร และการควบกลุ่มเกษตรกรเข้ากัน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมแก่ประเภทของกลุ่มเกษตรกรด้วย
 
มาตรา ๑๒๐ กลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๑๙ ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
 
มาตรา ๑๒๑ ให้นายทะเบียนสหกรณ์เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกร และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และมีรองนายทะเบียนสหกรณ์เป็นผู้ช่วย มีอำนาจหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย
ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดที่กลุ่มเกษตรกรตั้งอยู่ และมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดโดยประกาศในราชกิจจา นุเบกษา
สำหรับกรุงเทพมหานครให้นายทะเบียนสหกรณ์เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรกรุงเทพมหานคร
ให้สหกรณ์จังหวัดเป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดที่กลุ่มเกษตรกรตั้งอยู่ และมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ผู้อำนวยการส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑ และผู้อำนวยการส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๒ เป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรกรุงเทพมหานคร
 
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่กลุ่มเกษตรกร โดยมติของที่ประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม แสดงความจำนงขอเปลี่ยนฐานะเป็นสหกรณ์ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาเห็นว่าข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกรมีรายการถูก ต้องตามมาตรา ๔๓ ให้นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียน และดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๑๒๓ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกรเป็นสหกรณ์ให้คณะ กรรมการกลุ่มเกษตรกรมีฐานะเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จนกว่าจะมีคณะ กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้เลือกตั้งขึ้นใหม่ตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
สหกรณ์ตามวรรคหนึ่งย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดของกลุ่มเกษตรกรเดิม
 
มาตรา ๑๒๔ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกร และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรมอบหมายมีอำนาจเข้าไปตรวจ สอบในสำนักงานของกลุ่มเกษตรกรในเวลาทำงานของกลุ่มเกษตรกร ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ และให้คำชี้แจงแก่ผู้เข้าไปตรวจสอบตามสมควร
ให้ผู้เข้าไปตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๑๒๕ ในคดีฟ้องเรียกหนี้ที่กลุ่มเกษตรกร สมาชิก หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานะเช่นนั้น ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรถอนชื่อ กลุ่มเกษตรกรออกจากทะเบียน

มาตรา ๑๒๖ ถ้ากลุ่มเกษตรกรเกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการ ได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในการจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้กลุ่มเกษตรกรได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่า ธรรมเนียม

มาตรา ๑๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำว่า "กลุ่มเกษตรกร" เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อในทางธุรกิจ เว้นแต่กลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๑๑๙

มาตรา ๑๒๘ ให้นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรมอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการ สมาชิกและเจ้าหน้าที่ของกลุ่มเกษตรกรมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของ กลุ่มเกษตรกร หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ หรือรายงานการประชุมของกลุ่มเกษตรกร

 

 

หมวด ๙/๑

การพิจารณาอุทธรณ์

มาตรา ๑๒๘/๑ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ
 
มาตรา ๑๒๘/๒ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ที่อุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒๘/๔
(๒) มีหนังสือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือสั่งให้บุคคลดังกล่าวส่งเอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
(๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มอบหมาย
 
มาตรา ๑๒๘/๓ ให้นำมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยอนุโลม
 
มาตรา ๑๒๘/๔ คำสั่งตามมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ (๓) และ (๔) มาตรา ๗๑ และมาตรา ๘๙/๓ วรรคสอง รวมถึงคำสั่งเลิกกลุ่มเกษตรกรตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๑๑๙ วรรคสอง ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
คำสั่งไม่รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๘ และคำสั่งตามมาตรา ๔๔ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเห็นสมควรให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งนั้นไว้ชั่วคราว
 
มาตรา ๑๒๘/๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนด
ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ แล้วแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด